เมนู

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 6 ประการ เป็นไปเพื่อละอุทธัจจะ-
กุกกุจจะ คือความเป็นผู้พหูสูต ความเป็นผู้สอบถาม ความเป็นผู้
ชำนาญวินัย การเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ ความมีกัลยาณมิตร การกล่าว
ถ้อยคำที่เป็นสัปปายะ จริงอยู่ เมื่อภิกษุแม้เรียนได้ 1 นิกาย 2 นิกาย
3 นิกาย 4 นิกาย หรือ 5 นิกาย ด้วยอำนาจบาลี และด้วยอำนาจ
อรรถแห่งบาลี ย่อมละอุทธัจจะกุกกุจจะได้ แม้ด้วยความเป็นพหูสูต
เมื่อภิกษุมากด้วยการสอบถามในสิ่งที่ควรและไม่ควร ในอิริยาบถ
ยืนและนอนเป็นต้นก็ดี เป็นผู้ชำนาญ เพราะมีความช่ำชองชำนาญ
ในวินัยบัญญัติก็ดี ผู้เข้าหาพระเถระผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นผู้เฒ่าก็ดี คบ
กัลยาณมิตรผู้ทรงพระวินัย เสมือนกับพระอุบาลีเถระก็ดี ย่อมละ
อุทธัจจะกุกกุจจะได้ ย่อมละได้แม้ด้วยคำอันเป็นสัปปายะ ที่อิงสิ่ง
ที่ควรและไม่ควร ในอิริยาบถยืนแลนั่งเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละอุทธัจจะกุกกุจจะ
จบ อรรถกถาสูตรที่ 9

อรรถกถาสูตรที่ 10



ในสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โยนิโส มนสิกโรโต ความว่า มนสิการอยู่ โดยอุบาย
ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 6 ประการ เป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉา คือ
ความเป็นพหูสูต การสอบถาม ความเป็นผู้ชำนาญวินัย ความเป็นผู้
มากด้วยน้อมใจเชื่อ ความมีกัลยาณมิตร การกล่าวถ้อยคำอันเป็น